...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล๊อกของ นางสาวน้ำผึ้ง เพียรเสมอ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษา



นวัตกรรม (
Innovation) คืออะไร?

                นวัตกรรม (Innovation) คือ การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม


ความสำคัญและประโยชน์ของนวัตกรรม

     ปัจจุบันพูดถึงคำว่านวัตกรรมหรือ Innovation ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้น ผู้บริหารมักจะต้องการให้องค์กรที่ตนเองบริหารอยู่มุ่งเน้นในเรื่องของนวัตกรรม หรือมีความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization) ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาในหมู่ผู้บริหารระดับกลาง และระดับล่างว่านวัตกรรมนั้นจริงๆ แล้วคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นจะทำได้อย่างไร?มักจะมีความเข้าใจผิดอยู่มากเวลาเรานึกถึงคำว่านวัตกรรมว่าต้องหมายถึง สิ่งที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงหรือสินค้าใหม่ๆ ที่มีความเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่ชอบออกมาดึงดูดเงินในกระเป๋าของเรา อีกทั้งยังมีความเข้าใจว่านวัตกรรมก็คือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ แต่จริงๆ แล้วคำว่านวัตกรรมไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีเท่านั้น รากศัพท์ของคำว่า Innovation มาจากภาษาละตินว่า 'innovare' ที่แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ ในขณะเดียวกันเมื่อเปิดดูพจนานุกรมของ สอ เสถบุตร ก็จะพบว่าคำว่า Innovation แปลเป็นไทยว่า เปลี่ยนแปลงใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้นะครับว่าเมื่อเราพูดถึงนวัตกรรม 

     เราไม่ได้พูดถึงแต่เฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูงเท่านั้นการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของผู้บริหารทุกองค์กร เพียงแต่จะต้องมีความเข้าใจต่อคุณลักษณะของ Innovative Organization เสียก่อน อีกทั้งต้องเข้าใจด้วยนะครับว่าคำว่าองค์กรแห่งนวัตกรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมีหน่วยงานทางด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เท่านั้น แต่การที่จะเป็น Innovative Organization ได้จะต้องเกิดขึ้นจากทั้งองค์กร 

     องค์กรที่มีลักษณะเป็น Innovative Organization ควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง แรกสุดก็คงหนีไม่พ้นทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็น Innovative Organization อีกทั้งความมุ่งมั่นและทุ่มเทของผู้บริหาร ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่เขียนไว้เฉยๆ ว่าต้องการเป็น Innovative Organization แต่ผู้บริหารกลับไม่ได้ทำตัวให้เหมาะสมกับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เมื่อทิศทางและความมุ่งมั่นของผู้บริหารชัดเจนแล้ว ก็คงจะต้องตามด้วยโครงสร้างองค์กรที่กระตุ้น และก่อให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงสร้าง ที่มีความยืดหยุ่น ในระดับที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังด้วยนะครับไม่ให้โครงสร้างมีลักษณะที่หลวมเกินไป เมื่อโครงสร้างสนับสนุนแล้ว ก็ต้องมีบุคลากรที่สำคัญที่จะทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ภายใต้กระบวนการนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จะเป็นเจ้าภาพในโครงการ (Champions) หรือผู้สนับสนุน (Promoters) อีกทั้งบุคลากรภายในองค์กร ยังจะต้องมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม มากกว่าปัจเจกบุคคล ทั้งนี้เนื่องจากนวัตกรรมจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกันของบุคคลที่มีพื้นฐานที่หลากหลายมากกว่า ในขณะเดียวกันก็ต้องอย่าลืมความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร

 เนื่องจากการที่บุคลากรจะเป็นผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้บุคลากรเองจะต้องมีความรู้และทักษะที่เหมาะสม นอกเหนือจากในเรื่องของทิศทาง โครงสร้าง การทำงานเป็นทีม และบุคคลแล้ว องค์กรที่จะมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมยังจะต้องให้ความสำคัญกับบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมในการทำงานด้วย โดยถ้าเป็นไปได้องค์กรควรที่จะสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับนวัตกรรมเป็นสำคัญ และต้องอย่าลืมว่าการจะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้นั้นความเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอกองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ

ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม

         คำว่า "นวัตกรรม" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "innovare" ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า "ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา"โทมัส ฮิวส์ ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมานวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่จะเป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ มอร์ตัน


นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย 
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา 

ประเภทตามเนื้องาน

1.      นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน

2.      นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่

3.      นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่ (ร่วมมือกัน)

4.  นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น สไลด์ วีดิทัศน์ วิทยุ       โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ      อินเทอร์เน็ต (Web-based Instruction) หรือ e-Learning       

5.  นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล           ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ ข้อสอบ    

6.  นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ


ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรม เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ที่มี 3 ลักษณะประกอบกันได้แก่


1.  จะต้อง เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (feasible idea)

2. จะต้อง สามารถนำไปใช้ได้ผลจริง (practical application)

3.  มีการเผย แพร่ออกสู่ชุมชน



ตัวอย่างของนวัตกรรม


1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
                คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือเป็นสิ่งใหม่ ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก ต่อประเทศ องค์กร หรือแม้แต่ตัวเราเอง นวัตกรรมผลิตภัณฑ์นั้นยังสามารถถูกแบ่งออกเป็น

- ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible product) หรือ สินค้าทั่วไป (goods) เช่น รถยนต์รุ่นใหม่, สตรอเบอรี่ไร้เมล็ด, High Definition TV (HDTV), Digital Video Disc (DVD), etc.

- ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible product) หรือ การบริการ (services) เช่นpackage ทัวร์อนุรักษ์ธรรมชาติ, Telephone Banking, การใช้ internet, การให้บริการที่ปรึกษาเฉพาะด้าน, กฎหมายทาง IT, etc.


2. นวัตกรรมขบวนการ (Process Innovation)

         เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือวิธีการผลิตสินค้า หรือการให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม นวัตกรรมขบวนการแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

- นวัตกรรมขบวนการทางเทคโนโลยี (Technological process Innovation) เป็นสินค้าทุนที่ถูกใช้ในขบวนการผลิต ซึ่งหน่วยของ real capital หรือ material goods ซึ่งถูกปรับปรุงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้ (productivity growth) ซึ่งก่อนหน้านั้น มันเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็น product innovation เมื่อ มันถูกผลิตขึ้น และเป็น process innovation เมื่อมันถูกนำไปใช้ในโรงงานผลิตรถยนต์ เป็นต้น

- นวัตกรรมขบวนการทางองค์กร (Organisational process Innovation) เป็นขบวนการที่เพิ่มประสิทธิภาพ และขีดความสามารถของการจัดการองค์กรให้สูงขึ้น โดยใช้การลองผิดลองถูก (Trial and Error) และ การเรียนรู้จากการลองทำด้วยตนเอง (learning-by-doing)โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามรถในการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เพียงอย่างเดียว เช่น Just In Time (JIT), Total Quality Management (TQM), Lean Production

ตัวอย่างของนวัตกรรมชนิดนี้ เช่น โรงพยาบาล Karolinska ในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน สามารถลดเวลาในการรอตรวจรักษาของผู้ป่วยลงได้กว่า 75% โดยการจัดรูปแบบขององค์กรใหม่ ซึ่งเน้นหนักในด้านคุณภาพ ความรวดเร็ว และประสิทธิภาพ